สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดคำชี้แจงปลัดคลังหลังถูกป.ป.ช.เชือด"ไล่ออก" (2)

(อ่าน 743/ ตอบ 0)

108acc (Member)

ประชาชาติธุรกิจ




3.4.3 ในประเด็นที่ว่าคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไม่ได้ระบุความเหมาะสมของบุคคลในแต่ละตำแหน่งในการเสนอต่อผู้มีอำนาจสั่ง บรรจุแต่งตั้งนั้น ขอเรียนว่า ในบันทึกเสนอผลการประเมินของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ต่อผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งได้แนบผลการประเมินความเหมาะสมผู้สมัครแต่ละ ราย ซึ่งมีการให้คะแนนความเหมาะสมในแต่ละด้านไว้แล้วด้วย นอกจากนี้ ในแบบการประเมินบุคคลดังกล่าว ก็มีข้อที่ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ สรุปผลการประเมินของผู้สมัครแต่ละรายว่าเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวใน ระดับที่ สูงมาก สูง หรือ ปานกลาง หรือยังไม่เหมาะสม โดยคณะกรรมการใช้ลงลายมือชื่อในแบบการประเมินผู้สมัครแต่ละรายไว้ด้วย (รายละเอียดตามเอกสารแนบ 11) ประกอบกับข้อ 2.6 ใน ว.9 ก็มีข้อความในวงเล็บกล่าวถึงแบบการประเมินบุคคลไว้ดังนี้ "2.6 ให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 3 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง (ตัวอย่างแบบการประเมินบุคคลในการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 5) พร้อมทั้งระบเหตุผลของความเหมาะสมของบุคคล..." ข้าพเจ้าและกรรมการท่านอื่น ตลอดจนฝ่ายเลขานุการจึงเข้าใจโดยสุจริตว่า การระบุความเหมาะสมตามแบบการประเมินตามที่กล่าวมาข้างต้นมีความพอเพียงและ สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 2.6 นี้แล้ว

 อนึ่ง ในการเสนอชื่อบุคคลผู้เหมาะสมสำหรับตำแหน่งนักบริหาร 9 ตำแหน่งอื่น ซึ่งมีการพิจารณาและเสนอปลัดกระทรวงการคลังในวันเดียวกันนั้น ก็ได้มีการนำเสนอในรูปแบบเดียวกันทั้งสิ้น (บันทึกคณะกรรมการคัดเลือก : เอกสารแนบ 13, 14 และ 15)

 3.4.4 จากข้อเท็จจริงข้างต้น ข้าพเจ้าและคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมิได้มีเจตนา หรือจงใจในการดำเนินการประเมิน หรือมีมติให้ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามข้อ 2.6 ของ ว.9 แต่อย่างใด รวมทิ้งมิได้มีเจตนา หรือจงใจ หรือเลือกปฏิบัติในการเสนอรายชื่อบุคคลทั้งสี่ที่กรมสรรพากรเสนอเพื่อแต่ง ตั้งให้เป็นรองอธิบดี โดยเจาะจง 1 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่งแต่อย่างใด

 3.5 ประเด็นที่ 5 : กรณีไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าหน่วยงานการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ได้รับใบสมัครและเอกสารต่างๆ ประกอบด้วย ใบสมัคร แบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการ (ถ้ามี) และข้อเสนอเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้สมัครเมื่อใด โดยเฉพาะรายนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา ซึ่งลงชื่อในใบสมัครวันที่ 24 กันยายน 2544 อธิบดีกรมสรรพากรผู้บังคับบัญชา ลงชื่อให้ความเห็นในแบบแสดงผลงานด้านบริหารจัดการเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2544 เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ลงชื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรายนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2544 หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณามีมติให้นายบุญศักดิ์ฯได้รับการคัดเลือกเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร แล้ว ซึ่งนอกจากจะเป็นการเลือกปฏิบัติและเอื้อประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติโดยข้ามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของการพิจารณาอีกด้วย

 ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า

 3.5.1 ในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร ข้าพเจ้าได้มีหนังสือลงวันที่ 24 กันยายน 2544 (เอกสารแนบ 3) เสนอชื่อนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าง ในตำแหน่งเลขที่ 3 เป็นการเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการเสนอต่อกระทรวงการคลังภายในกำหนดเวลาที่กระทรวงการคลังได้แจ้ง ไว้ นอกจากนี้ ก็ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 กันยายน 2544 (หนังสือกรมสรรพากร : เอกสารแนบ 16) เสนอชื่อนายบุญศักดิ์ เจียมปรีชาา และข้าราชการกรมสรรพากรอื่นอีก 2 ราย เข้ารับการฝีกอบรมหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารสำหรับนักบริหาร ระดับสูง

 3.5.2 ในข้อเท็จจริงนั้น การรับใบสมัครพร้อมเอกสารต่างๆ และการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นหน้าที่ของกองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลัง ซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ด้วย ในคราวการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2544 นั้น ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้นำเสนอที่ประชุมว่ามีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตำแหน่งรองอธิบดีกรม สรรพากรจำนวน 10 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วน 9 ราย และขาดคุณสมบัติ 1 ราย โดยในกรณีนายบุญศักดิ์ฯ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เสนอว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน นอกจากนี้ ในส่วนของคะแนนผลการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้สมัครแต่ละราย รวมถึงรายนายบุญศักดิ์ฯ กรรมการผู้แทนจากสำนักงาน ก.พ. ก็ได้นำมาเสนอต่อที่ประชุมโดยครบถ้วนเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าและคณะกรรมการจึงเชื่อมั่นว่าฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัครทุกรายเรียบร้อยแล้ว ข้าพเจ้าและกรรมการคัดเลือกฯ ท่านอื่น จึงได้พิจารณาใบสมัครและเอกสารประกอบต่างๆ ของผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 9 รายดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป

 3.5.3 ในภายหลังเมื่อข้าพเจ้าได้ตรวจสอบและรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อชี้แจงข้อ กล่าวหาต่ออนุกรรมการไต่สวนฯ ข้าพเจ้าได้รับทราบว่ากองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลัง ได้มีทะเบียนรับใบสมัครของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก ในตำแหน่งต่างๆ ตามประกาศคัดเลือกฯ (ทะเบียนรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกฯ : เอกสารแนบ 17) โดยปรากฏชื่อนายบุญศักดิ์ฯ เป็นผู้ยื่นใบสมัครลำดับที่ 22 โดยยื่นใบสมัครในวันที่ 24 กันยายน 2544 พร้อมลงลายมือชื่อไว้ด้วยตนเอง และยังมีผู้สมัครต่อจากนั้นอีก 10 รายจนถึงลำดับที่ 32 และมีผู้สมัครในวันเดียวกันก่อนหน้านายบุญศักดิ์ฯ อีก 9 ราย รวมเป็นผู้ยื่นใบสมัครในวันที่ 24 กันยายน 2544 ทั้งสิ้น 20 ราย และในจำนวนผู้สมัคร 20 รายนี้ เป็นผู้สมัครตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร รวม 4 ราย คือ  1.นายไพรัช สหเมธาพัฒน์ (ลำดับที่ 20) 2.นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา (ลำดับที่ 22) 3.นางอัมพร เล็กอุทัย (ลำดับที่ 26) และ 4.นางประภาดา สารนุสิต (ลำดับที่ 27) จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นใบสมัครในวันที่ 24 มิถุนายน 2544 ทั้ง 20 ราย ได้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยการยื่นใบสมัครของนายบุญศักดิ์ฯ ต่อกองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงการคลังนั้น ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าเป็นการยื่นโดยใช้สำเนา โดยมีเอกสารหลักฐานครบถ้วน

 3.5.4 จากข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าและคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงเชื่อว่าได้มีการดำเนินการรับสมัคร มีการตรวจสอบคุณสมบัติ มีการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้สมัครรายต่างๆ เป็นที่ครบถ้วน ถูกต้อง ตามขั้นตอนและตามกำหนดเวลาสำหรับผู้สมัครทุกรายแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงได้พิจารณาดำเนินการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไปตามปกติโดยใช้เอกสารและ ข้อมูลต่างๆ ตามที่ปรากฏในขณะนั้น โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ มิได้ดำเนินการข้ามขั้นตอนในการพิจารณา หรือดำเนินการอันเป็นการเลือกปฏิบัติหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้สมัครราย หนึ่งรายใดแต่อย่างใด


4.ประวัติการศึกษาและการทำงานของข้าพเจ้า (ประวัติส่วนตัว : เอกสารแนบ 18)

 ข้าพเจ้า ได้เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2520 โดยก่อนหน้านี้ก็ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ก็ได้เข้ารับราชการที่กรมสรรพากรทันที โดยได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งและขั้นเงินเดือนจากผู้บังคับบัญชามาโดย สม่ำเสมอเป็นลำดับจนดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังในปัจจุบัน

 นอกจากงาน ในตำแหน่งหน้าที่ราชการแล้ว ก็ได้มีโอกาสปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของทางราชการในองค์กรของราชการและรัฐ วิสาหกิจหลายๆ แห่ง รวมตลอดถึงการได้เป็นผู้บรรยายพิเศษ ณ สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศอีกหลายสถาบัน

 ข้าพเจ้าเชื่อมั่น ว่า ข้าพเจ้าได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของราชการและบ้านเมืองด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด และในช่วงที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ ดังนี้ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) ซึ่งนับเป็นเกียรติสูงสุดแก่ข้าพเจ้าและวงศ์ตระกูล


5.สรุป

 คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ได้กล่าวหาว่า ข้าพเจ้ากับพวกปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ โดยมิชอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ทั้งที่เป็นผู้กล่าวหา และผู้เข้ารับการพิจารณารายอื่นๆ สร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการพิจารณาคัดเลือกและการบริหารงานทรัพยากร บุคคลของกระทรวงการคลังอย่างร้ายแรง ต้องมีการยกเลิก เพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรในเวลาต่อมา เป็นการกระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 82 วรรคสาม และเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

 ข้าพเจ้า ขอเรียนว่า ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร ที่มีตำแหน่งรองอธิบดีว่างอยู่ขณะนั้นก็ได้เสนอชื่อข้าราชการเข้ารับการคัด เลือกตามหลักเกณฑ์ในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0701/ว9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 (ว.9) ตามที่กระทรวงการคลังได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้ปฏิบัติ โดยไม่อาจทราบได้ว่า หนังสือเวียนดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยมติคณะรัฐมนตรีในส่วนใดหรือไม่แต่อย่างใด และโดยมิได้มีเจตนา หรือจงใจ ปฏิบัติหน้าที่ที่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้หนึ่งผู้ใดแต่อย่างใด และข้าพเจ้าในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ในส่วนของตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรนั้น ก็ได้พิจารณาดำเนินการไปตามความรู้ ความเข้าใจ และตามระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนด โดยเข้าใจโดยสุจริตว่า ได้ดำเนินการในประเด็นต่างๆ โดยครบถ้วนถูกต้องแล้ว หากมีความไม่สมบูรณ์ หรือมีข้อบกพร่องในส่วนใด ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่มีความเข้าใจหรือแปลความหมายของหลักเกณฑ์ วิธีการตามแนวทาง ว.9 ของสำนักงาน ก.พ. คลาดเคลื่อนไป ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลังเป็นส่วนราชการแห่งแรกที่ได้นำหลักเกณฑ์ ว.9 มาปฏิบัติ ความบกพร่องคลาดเคลื่อนนี้ มิได้เกิดจากการมีเจตนา หรือจงใจ หรือเลือกปฏิบัติเเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครรายใดรายหนึ่งแต่อย่างใด

 หลัก เกณฑ์และวิธีการคัดเลือกตาม ว.9 ของสำนักงาน ก.พ.เป็นแนวทางใหม่ที่เพิ่งจะนำออกมาใช้ในขณะนั้น การออกประกาศรับสมัครรวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคัดเลือกของกระทรวง ต่างๆ จึงอาจมีความแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับที่ได้ใช้ปฏิบัติในกรณีของกระทรวงการคลัง

 ประกาศ รับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนัก บริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2544 นั้น เป็นประกาศรับสมัครนักบริหาร 9 รวม 8 ตำแหน่ง ของ 4 ส่วนราชการในกระทรวงการคลัง จึงมีอธิบดีกรมที่มีตำแหน่งว่างทุกกรมร่วมเป็นกรรมการพิจารณาดำเนินการด้วย มิได้มีเฉพาะอธิบดีกรมสรรพากรเท่านั้น ประกาศนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติ สำหรับใช้ในการคัดเลือกกับผู้สมัครทุกรายและทุกตำแหน่งที่เปิดรับสมัครโดย เสมอเหมือนกัน กระบวนการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ได้ดำเนินไปตามขั้นตอน โดยใช้รูปแบบวิธีกาเรดียวกันสำหรับผู้สมัครทุกราย และทุกตำแหน่ง จึงเห็นได้ว่า การดำเนินการทั้งหมดนั้น มิได้เป็นการปฏิบัติที่มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ หรือมีเจตนา หรือจงใจให้เกิดความเสียหายแก่ผู้สมัครายใด หรือข้ามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของการคัดเลือกแต่อย่างใด

 โดยที่สำนัก งาน ก.พ. เป็นองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนของข้าราชการพลเรือนเมื่อ กำหนดแนวทางปฏิบัติมาเช่นไร ก็เป็นหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้กระทรวงการคลัง กรมสรรพากร และคณะกรรมการคัดเลือกฯ รวมทั้งข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรและในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น โดยมิอาจทราบได้ว่าหลักเกณฑ์และแนวทางที่ ก.พ.กำหนด จะมีส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ชอบด้วยมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ รวมทั้งจะมีข้อกำหนดไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายในการคัดเลือกแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับสูงหรือไม่

 ประกาศรับสมัครและกระบวนการคัดเลือกข้าราชการ พลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 กรณีรองอธิบดีกรมสรรพากรตามข้อกล่าวหานี้ แม้จะมีความไม่สมบูรณ์คลาดเคลื่อนอยู่บ้างในบางด้าน แต่โดยภาพรวมก็เป็นไปตามแนวทาง และหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนดเช่นเดียวกับกรณีของกระทรวงอื่น ข้าพเจ้าในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรและในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความสุจริตใจ มิได้เอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัครรายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง มิได้มีเจตนา หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ทั้งที่เป็นผุ้กล่าวหา และผู้เข้ารับการพิจารณารายอื่นๆ รวมทั้งมิได้มีเจตนา หรือจงใจสร้างความเสียหายให้แก่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก และการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของกระทรวงการคลังตามที่กล่าวหาแต่อย่างใดทั้ง สิ้น

 ด้วยเหตุที่ข้าพเจ้าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือกระทำความผิดใดๆ ตามข้อกล่าวหาไม่ว่าทั้งในฐานะอธิบดีกรมสรรพากร และในฐานะกรรมการคัดเลือกฯ ประกอบกับได้รับราชการอย่างซื่อสัตย์สุจริตตลอดมารวม 30 ปี และยังคงตั้งมั่นที่จะทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติต่อไป จึงขอความกรุณาต่อคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เพื่อโปรดพิจารราคำชี้แจงของข้าพเจ้าและมีมติว่าการกระทำของข้าพเจ้าในส่วน ที่เกี่ยวข้องไม่มีมูลความผิด โดยให้ข้อกล่าวหาทั้งหลายเป็นอันตกไป

 อนึ่ง ข้าพเจ้ายินดีที่จะชี้แจงเพิ่มเติมไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร ตามที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ เห็นสมควร โดยข้าพเจ้ายังคงสงวนสิทธิที่จะชี้แจงเพิ่มเติมและส่งมอบเอกสารพยานหลักฐาน ต่างๆ เพื่อแก้ข้อกล่าวหาในโอกาสต่อไปด้วย

 (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)

 ปลัดกระทรวงการคลัง


Lock Reply
view